สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

โครงสร้างส่วนประกอบของระบบ อัดอากาศ

โครงสร้างส่วนประกอบของระบบ อัดอากาศ

โครงสร้างประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ  ดังนี้
1.  ปั๊มอัดอากาศ(Air  Compressor) มีหน้าที่สูบอัดอากาศจากภายนอกส่งไปยังถังบรรจุอากาศภายในตัวปั๊มจะประกอบด้วยชุดสกรูและภายนอกเสี้อสูบจะมีครีบระบายความร้อน  ซึ่งเกิดจากการเสียดสีของชุดสกรูรวมทั้งความร้อนที่เกิดจากอากาศที่ถูกอัดด้วย
2.  หม้อกรองกากาศ(Air Filer) ภายในจะมีไส้กรองซึ่งมีหน้าที่ในการป้องกันเศษผงและฝุ่นละอองไมให้เข้าไปในปั๊มอัดอากาศ
3.   ช่องเติมน้ำมันหล่อลื่น
4.   ท่อระบายความร้อน (After cooler)  ภายนอกจะมีครีบรอบ ๆซึ่งช่วยในการระบายความร้อนของอากาศที่ส่งมาจากตัวปั้ม  ไปยังถังบรรจุอากาศให้มีอุณหภูมิต่ำลง
5.  มาตรวัดระดับน้ำมันหล่อลื่น (Oil Gauge) สำหรับแสดงปริมาณน้ำมันหล่อลื่นที่มีอยู่ในปั๊มอากาศ

6.   ถังบรรจุอากาศ (Accumulating  Tank) ทำด้วยเหล็กที่มีความแข็งแรงทนต่อความดันสูง  มีหน้าที่ในการเก็บอากาศที่ถูกอัดตัวให้มีความดันตามต้องการ
7.   ช่องระบายน้ำมันหล่อลื่นทิ้ง
8.   ช่องสำหรับทำความสะอาด(Service  Value) ใช้สำหรับเปิดทำความสะอาดส่วนภายในของตัวถังบรรจุอากาศ
9.    ตัวกรองน้ำ  จะติดตั้งในตำแหน่งท่อลม  มีหน้าที่ในการดักน้ำที่ปนอยู่กับอากาศภายในถังบรรจุอากาศก่อนนำออกไปใช้งาน  และสามารถระบายทิ้งภายนอกได้เช่นกัน  
10.   ขาตั้งใช้ยึดติดกับพื้นเพื่อป้องกันการสั่นสะเทือน
11.   วาล์วปิดเปิดลม (Tank  Value) มีหน้าที่ปิดเปิดอากาศที่จะนำไปใช้งานและหยุดการใช้งานตามความต้องการ
12.   วาล์วระบายน้ำทิ้ง (Tank  Drain  Value)  ติดตั้งไว้ในตำแหน่งด้านข้างหรือด้านล่างของถังบรรจุอากาศ  สำหรับเป็นที่ระบายน้ำที่ถูกควบแน่นออกทิ้งภายนอก
13.    วาล์วนิรภัย (Safety  Value)  มีหน้าที่ป้องกันความเสียหายของถังบรรจุอากาศอันอาจเกิดจากความดันภายในถังบรรจุอากาศสูงมากเกินพิกัดความสามารถของถังบรรจุอากาศ
14.   มาตรวัดความดันอากาศ(Pressure Gauge) มีหน้าที่แสดงค่าความดันของอากาศภายในถังบรรจุอากาศ
15.   สวิทช์ควบคุมความดัน (Pressure  Switch)  มีหน้าที่ในการตัดและต่อวงจรไฟฟ้าให้มอเตอร์ทำงานและหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ  โดยอาศัยความดันของอากาศในถังบรรจุอากาศ สวิทช์ความดันนี้
สามารถปรับตั้ง และเปลี่ยนแปลงการบังคับการทำงานได้ตามระดับความดันที่ต้องการ
16.   Magnetic  and  Overload  Relay มีหน้าที่ตัดต่อวงจรไฟฟ้าให้มอเตอร์ทำงานและหยุดทำงาน และช่วยป้องกันมอเตอร์ชำรุดเสียหายเนื่องจากทำงานเกินกำลังหรือลัดวงจร
17.   มอเตอร์ไฟฟ้า(Electric  Motor)  มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนปั๊มอัดอากาศให้ทำงานมอเตอร์ไฟฟ้าจะมีพัดลมระบายความร้อยอยู่ภายในตัวมอเตอร์
18.   สายพาน มีหน้าที่ส่งแรงการขับเคลื่อนจากมอเตอร์ไฟฟ้าไปยังปั๊มอัดอากาศให้ทำงานสัมพันธ์กัน  

Tags : โครงสร้างส่วนประกอบของระบบ อัดอากาศ

view